วัดบางกะพ้อมตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดบางกะพ้อมเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2312 สมัยกรุงศีอยุธยา
แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง มีตำนานเล่าขานกันมาว่า มีตระกุลคหบดีมีฐานะดีตระกูลหนึ่ง
ได้ลงเรือพาครอบครัวพร้อมทั้งทรัพย์สินหนีข้าศึก เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา
รอมแรมถึงแหลมบางกะพ้อมแห่งนี้ เห็นเป็นที่เหมาะสมร่มรื่น จึงได้พักแรม
สร้างที่อยู่อาศัยอยู่ โดยอาศัยการสานกระบุง ตระกร้า เสื่อลำแพน และกะพ้อมใส่ข้าว
เป็นสินค้านำไปขายเพื่อเป็นค่ายังชีพ ต่อมามีคนมาบอกว่ากองทัพข้าศึกยกมา
กำลังทำการสู้รบกันอยู่ที่ค่ายบางกุ้งให้รีบหนี แต่คหบดีผู้นั้นเห็นว่าคงหลบหนีไม่ทัน
จึงได้เข้าไปแอบอยู่ในกะพ้อมที่สานเอาไว้เพื่อจะขาย พร้อมกันนั้นได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อ
พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า "ขออย่าให้ทหารข้าศึกพบเลย
หากรอดพ้นไปได้จะจัดการสร้างวัดและวิหารขึ้นตรงนี้" ซึ่งทหารข้าศึกก็ผ่านไปโดยมิได้พบเห็น
ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารวัดบางกะพ้อมขึ้น ตามที่ตั้งสัตยธิษฐานไว้ โดยตั้งชื่อวัดว่า
"วัดบังกับพ้อม" ต่อมาคงเพี้ยนไปบ้าง หรือเพื่อความเหมาะสมจึงชื่อ
"วัดบางกะพ้อม" มาจนถึงปัจจุบันี้
ครอบครับของผู้สร้างวัดนี้ ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นได้สร้างอุโบสถเรือนไม้
มีพระพุทธรูปศิลาแลง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพระประธาน และได้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาท
4 รอย เดิมสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเชื่อพระวงศ์ในพระราชจักรีทรงผนวช
และจำพรรษา ณ วัดนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเถระผู้ใหญ่และเป็นเจ้าอาวาสวัด
ท่านได้บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังนูน อันเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม
สิ่งที่น่าสนใจ
วิหารวัดบางกะพ้อม
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีอิทธิพลของสถาปัตยของสถาปัตยกรรมจีน ตามแบบศิลปะพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าปั้นเป็นลายปูนปั้นแบบจีน ประตูทางเข้าเป็นทรงกลม
มีปูนปั้นเป็นรูปทหารฝรั่งยืนเฝ้า 2 ข้างประตู ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังนูน
ที่สวยงามแปลกตา เป็นอย่างยิ่ง โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง ที่ประดิษฐาน ณ สุวัณเณมาลิก,
ภูเขาสุวรรณบรรพต, ภูเขาสุมนกูฏ, เมื่องโยนกและรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน
ณ แม่น้ำนัมมทานที
ด้านที่ 2 เป็นภาพพระพุทธประวัติ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพาน
ด้านที่ 3 เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ได้นำพระศพของพระพุทธเจ้า
ขึ้นตั้งบำเพ็ญกุศล
ด้านที่ 4 เป็นภาพพุทธประวัติรวมๆ คือ ภาพตอนตรัสรู้ ภาพตอนได้อัครสาวกซ้ายขวา
วิหารหลวงพ่อคง, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำ
วิหารหลวงพ่อคง เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อคง อตีดเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดสมุทรสงคราม, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำ
ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดแห่งนี้
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 325 (แม่กลอง-อัมพวา)
ประมาณ 5 กม. (ยังไม่ถึงตลาดอัมพวา) ให้สังเกตทางซ้ายมือ จะมีทางแยกเข้าวัด
รถประจำทาง
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ที่สถานีขนส่งจังหวัดสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสาร
สายแม่กลอง-บางนกแขวก (สาย 333) หรือสายแม่กลอง-ดำเนินฯ (สาย467) รถจะผ่านทางเข้าวัด
ตลาดน้ำยามเย็น ตำบลอัมพวา
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม
มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก
ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด
ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้
ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป
โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"
สิ่งที่น่าสนใจ
ตลาดน้ำยามเย็น
ตลาดน้ำยามเย็น จะมีทุกวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 16.00
น. เป็นต้นไป
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้
จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย
ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด
อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา
ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ
ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ล่องเรือชมหิ่งห้อย
นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน
ก็สามารถติดต่อเรือได้ ติดต่อ โทร.01-5739131
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน
ร.2 ประมาณ 6 กม ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ
800 เมตร. ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา
รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้
รถสาย 996 กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ เป็นรถปรับอากาศ ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา
สาย 976 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย
333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ถึงตลาดอัมพวา
วัดบางแคน้อย ตำบลแควอ้อม
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดบางแคน้อยตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง คุณหญิงจุ้ย (น้อย) วงศาโรจน์ เป็นผู้สร้างเมือ
พ.ศ.2441 เดิมอุโบสถของวัดสร้างบนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ ต่อมาพระอธิการรอด
เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ได้สร้างอุโบสถบนพื้นดิน ในปี พ.ศ.2418 ต่อมาอุโบสถหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรม
พระอธิการเขียว เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ใรปี พ.ศ.2492
จนกระทั่งปี พ.ศ.2540 อุโบสถหลังเดิมเกิดชำรุดอีก เนื่องจากขาดแคลนวัสดุและคุณภาพเพราะตอนสร้างอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 พระครูสมุทรนันทคุณ (แพร) จึงได้ดำเนินการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น
อุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ภายในจะเป็นไม้สักแกะสลักทั้งหมด อุโบสถหลังนี้มีความงดงามยิ่ง
สิ่งที่น่าสนใจ
อุโบสถภายในไม้สักแกะสลัก
การแกะสลักที่ที่น่าสนใจ และหาดูได้ยาก เนื่องจากต้องใช้งบประมาณ เวลาและฝีมือการแกะสลักที่ปราณีตบรรจง
โดยใช้ช่างที่มีความชำนาญ
ไม้มะค่าโมงซึ่งใช้เป็นแท่นรองพระประธานมีขนาดใหญ่มาก คือกว้าง 2 เมตรครึ่ง
ยาว 3 เมตร หนา 4 นิ้ว
ชุกชีพระประธานเป็นไม้แกะสลักในทรงจอมแห
พื้นอุโบสถปูด้วยไม้ตะเคียนทอง หนา 2 นิ้ว กว้าง 40-44 นิ้ว
ฝาผนังพื้นเป็นไม้แกะสลัก หนา 3 นิ้ว แกะสลักเป็นรูปคน สัตว์ ต้นไม้
และแกะเสริม รวมหนาถึง 6 นิ้ว
ฝาผนังด้านตรงข้ามพระประธานเป็นไม้แกะสลักรูปปางชนะมาร
ฝาผนังด้านซ้าย ขวา ของพระประธานเป็นไม้แกะสลักรูปพระเจ้าสิบชาติ
ฝาผนังด้านหลังพระประธานเป็นไม้แกะสลัก การประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน
ฝาผนังใต้ธรณีหน้าต่าง 2 ข้าง แกะสลักฝังด้วยไม้โมกมันรูปพระเวสสันดร
จั่วด้านหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลัก ด้านข้างทั้งสองเป็นคูหาหลงรักปิดทอง
คันทวยเป็นไม้ลงรักปิดทอง
จากรายละเอียดดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เป็นอุโบสถที่มีความสวยงาม มีคุณค่าทางด้านศิลปะเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะช่างแกะสลัก เป็นช่างฝีมือจากเพชรบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงถือว่าอุโบสถวัดบางแคน้อยเป็นศิลปะสถานที่มีคุณค่ามาก และถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย
ถนนผลไม้
เส้นทางที่เดินทางไปวัดบางแคน้อยนั้นจะเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อเสียงของสมุทรสงคราม
คือ ลิ้นจี่ ส้มโอ ทั้งสองข้างทางเป็นจำนวนมาก จนตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า
ถนนผลไม้ ซึ่งถ้าเป็นในช่วงที่ลิ้นจี่ติดผล จะดูสวยงามมาก อีกทั้งสามารถที่จะซื้อได้โดยตรงจากสวน
ส่วนส้มโอมีตลอดทั้งปี
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 325 (แม่กลอง-อัมพวา)
ประมาณ 5 กม. เลยวัดบางกะพ้อม (ยังไม่ถึงตลาดอัมพวา) ให้สังเกตทางแยกซ้ายมือ
เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง(สะพานสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์) ตรงไปถึง
ถึงสามแยกเลี้ยวขวา ตรงไปผ่านวัดภุมรินทร์ จนถึงสามแยก (มีวัดบางแคใหญ่อยู่ขวามือ)
เลี้ยวขวาตรงไป วัดอยู่ขวามือ มีซุ้มประตูทางเข้า ติดกับโรงพยาบาลอัมพวา
รถประจำทาง
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสารสองแถว สายแม่กลอง-วัดปราโมทย์ ,สายแม่กลอง-วัดแก้ว
คิวรถอยู่บริเวณธนาคารนครหลวงไทย สาขาสมุทรสงคราม รถจะวิ่งผ่านวัด
ตลาดน้ำท่าคา ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม
สิ่งหนึ่งที่คู่มากับจังหวัดสมุทรสงคราม ก็คือแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่ ซึ่งมีอยู่มากมาย
ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านผูกพันกับแม่น้ำลำคลองเรื่อยมา ทั้งการสัญจรไปมาหาสู่กัน
การประกอบอาชีพต่าง ๆ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และสิ่งหนึ่งที่สะท้อนภาพชุมชนริมน้ำได้ชัดเจน
คือ ตลาดน้ำ ที่มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ในสมัยนั้นชาวบ้านจากสมุทรสงครามจะพายเรือนำพืชผัก
ผลไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ปลาเค็ม ล่องเข้าไปขายต่อเนื่องถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ก่อนที่ตลาดน้ำจะค่อยๆ ลดน้อยลงไปราว 60 ปีที่แล้วเมื่อการสัญจรทางบกสะดวกขึ้น
ภาพความคึกคักจอแจของผู้คนและเรือบรรทุกพืชผล สินค้า แน่นขนัดในลำคลอง
เสียงเจรจาซื้อขาย พูดคุยทักทายกันทั่วท้องน้ำ นับวันจะหาดูได้ยากยิ่ง
แต่ความมีชีวิตชีวาเหล่านี้ยังคงมีอยู่ที่ "ตลาดน้ำท่าคา"
สิ่งที่น่าสนใจ
ตลาดน้ำจะมีในวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำ ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-
12.00 น
บริเวณตลาดน้ำท่าคาบรรยากาศสองฝั่งน้ำร่มรื่นด้วยสวนมะพร้าวและสวนผลไม้
ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือออกมาจากสวน บ้างก็มาจากละแวกใกล้เคียงบรรทุกผลไม้
พืชผัก ขนม ของกินของใช้ ล่องมาขาย สินค้าที่หลากหลายเหล่านี้เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวในท้องถิ่น
สภาพภูมิประเทศ พืชพันธุ์ ผลผลิต วิถีชีวิตผู้คน ตลาดน้ำจึงเป็นตัวเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันไว้ด้วยกัน
เป็นศูนย์กลางการพบปะของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวจากภายนอก บริเวณที่ติดตลาดมีทางเดินปูนริมน้ำและสะพานข้ามคลอง
ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมตลาดน้ำได้อย่างทั่วถึง
บริเวณด้านหน้าทางเข้าตลาดน้ำมีศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตลาดน้ำท่าคา
มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชนจำหน่าย มีการสาธิตการเคี่ยวตาล หยอดตาล และบริการพาล่องเรือเที่ยวสวน
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ผู้ใหญ่อุไร สีเหลือง ประธานกลุ่มฯ โทร. 0-3474-9380
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวก
ประมาณ 10 กม หรือเลยจากทางแยกเข้า อ.อัมพวา ไปประมาณ 4 กม. มีทางแยกอยู่ขวามือ
มีป้ายบอกตลาดน้ำท่าค่า วิ่งเข้าไปประมาณ 5 กม. มีป้ายบอกตลอดทาง
รถประจำทาง
จากตัวจังหวัด ขึ้นรถที่คิวหน้าธนาคารทหารไทย ปลายทางตลาดน้ำท่าคา
ดอนหอยหลอด ตำบลบางจะเกร็ง
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
เป็นสันดอนที่เกิดขั้นบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม
มีลักษณะเป็นสันดอนใหญ่ตลอดชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 50 เมตร
2,000 เมตรมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 22,000 ไร่ จำนวนดอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีทั้งหมด
7 ดอน แต่ละดอนแยกจากกันด้วยร่องน้ำเล็ก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้างดอนที่มีหอยหลอดชุกชุมมากมีจำนวน
5 ดอน ซึ่งเป็นดอนที่เกิดขึ้นนานแล้ว ความหนาแน่นของหอยหลอดบนพื้นที่ประมาณ
15,056.25 ไร่ลักษณะพื้นที่ของดอนหอยหลอดเป็น ลักษณะดินปนทราย ชาวบ้านเรียกว่า
"ทรายขี้เป็ด" ซึ่งอาจนำไปใช้ถมที่ได้ แต่ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้หอยหลอดจะอยู่หนาแน่นบริเวณที่มีทรายประมาณ
60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความหนาแน่นของหอยหลอดขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละปีที่เปลี่ยนแปลงไป
หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิหนึ่ง
มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus
Gould 1861จัดเป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายหลอดกาแฟ
กลมยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เซนติเมตร
เป็น ขนาดของหอยที่โตเต็มที่ มีสภาพความเป็นอยู่โดยการฝังตัวตั้งเป็นแนวดิ่งอยู่ใต้พื้นทราย
ยามน้ำแห้งซึ่งเป็นช่วงโอกาสที่ชาวประมงจะทำการจับหอยหลอดได้หอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น
และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหารหรือการเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่
สิ่งที่น่าสนใจ
ดอนหอยหลอด
เนื่องจากดอนหอยหลอดมีหอยหลอดชุกชุมมาก และมีทัศนียภาพที่สวยงาม แปลก และมีเอกลักษณ์
ยามปกติเวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะท่วม ดอนจะจมหายไปในน้ำไม่มีร่องรอยของดอนหอยหลอดอยู่เลยแต่พอน้ำลงจะปรากฏพื้นที่ดอนหอยหลอดค่อย
ๆ โผล่ขึ้นทีละน้อย เป็นพื้นที่กล้างไกลหลายร้อยไร่ จึงทำให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง
สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว คือ หอยหลอด กล่าวกันว่าเป็นแหล่งที่มีหอยหลอดชุกชุมมากที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย
หรือแห่งเดียวในโลก นักท่องเที่ยวนิยมลงไปจับหอยหลอดกันอย่างสนุกสนาน วิธีจับก็ใช้มือกดบงบนพื้นทราย
จะปรากฏฟองอากาศ และเห็นรูปรากฏเอาไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไป หอยหลอดจะโผล่ขึ้นมาให้จับ
ต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้มิฉะนั้นจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก
ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด
ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคมเพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น
และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร
(ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเวลาน้ำขึ้น
- น้ำลง ได้ที่ อบต. บางจะเกร็งโทร 034-723749
หลายคนเข้าใจว่า "หอยหลอด" มีเพียงที่ดอนหอยหลอดที่เดียวในโลก
แต่ความจริงแล้วยังมีหอยหลอดในบริเวณอื่นอีก เช่น จ.สมุทรปราการ และ จ.ตราด
และในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่มีในปริมาณน้อย ไม่มากพอที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อวันที่
20 มีนาคม 2543
ศาลกรมหลวชุมพรเขตอุดมศักดิ์
บริเวณดอนหอยหลอดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์ มีการแสดงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ที่
1 และ 3 ของเดือน เวลา 17.00-18.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
แหล่งรวมร้านอาหารทะเล และสินค้าต่างๆ มากมาย
ตลอดเส้นทางการเดินไปที่ดอนหอยหลอดจะมีร้านอาหารทะเลมากมาย เรียงรายทั้งสองด้านของถนนจนถึงดอนหอยหลอด
จะเรียกว่าเป็นแหล่งรวมร้านอาหารทะเลของสมุทรสงครามก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมีร้านขายสินค้าของที่ระลึก
ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอาหารทะเลสด-แห้ง กะปิคลองโคน น้ำตาลสด ฯลฯ
การเดินทาง
รถยนต์
1. ไปยังหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2) ก่อนถึงหลักกิโลเมตรที่
62 มีป้ายซ้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
2. ไปยังหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2)
ประมาณกิโลเมตรที่ 64 ก่อนข้ามสะพานพุทธเลิศหล้านภาลัย เชิงสะพานมีป้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอดระยะ
ทางประมาณ 5 กิโลเมตร
รถโดยสาร
สามารถเดินทางโดยรถสองแถว มีรถออกตลอดทั้งวันจากตัวตลาดในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ไป ยังบ้านฉู่ฉี่ ดอนหอยหลอด
เรือ
การเดินทางไปยังดอนหอยหลอดนอก จากมีเรือขนาดต่าง ๆ บริการที่ท่าริมน้ำแม่กลอง
ถ้าเป็นหมู่คณะใหญ่ประมาณ 40 คนขึ้นไป ติดต่อสอบถามล่วงหน้า ที่โรงเลื่อยจักรซุ่นฮวดเฮง
คุณพรทิพย์ แสงวณิชโทร. 034-711466, 034-712558, 034-712451, 01-3785858
(มีบริการสั่งอาหารไปทานบนเรือ) หรือ ติดต่อที่ห้องขายตั๋วเรือข้ามฟากริมแม่น้ำแม่กลอง
จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ติดกับอุทยาน ร.2)
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ปากคลองอัมพวาด้านเหนือ เดิมเรียกกันว่า
"วัดอัมพวา" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า
"วัดอัมพวันเจติยาราม" มีความหมายว่า "วัดที่มีเจดีย์และมีสวนมะม่วงเป็นที่รื่นรมย์และเกษมสำราญน่าเคารพบูชา"
วัดนี้เป็นวัดต้นวงศ์ราชินิกุล โดยสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (สั้น)
พระชนนีในสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ (นาก) ทรงบริจาคที่ดินและสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ได้ทรงรวบรวมพระพี่พระน้องรว่มกันสร้างเป็นวัดขึ้นมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหญ่และทรงสร้างพระปรางค์
เป็นที่บรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบรมราชชนก นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระวิหารและพระที่นั่งทรงธรรมขึ้นอีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจ
พระอุโบสถ
มีลักษณะทรวดทรงเหมือนพระอุโบสถของวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้นตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และเรื่องราวเกี่ยวกับบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไกรทอง อิเหนาและคาวี
ภาพจิตรกรรมบริเวณผนังระหว่างช่องประตูด้านล่าง ซึ่งเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
เป็นส่วนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงฝีพระหัตถ์พระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
หน้าทหารกลอง และต้นไม้ข้างป้อมริมกำแพง
กุฏิใหญ่
มีลักษณะเป็นเรือนหมู่ทรงไทยใต้ถุนสูง ด้านเหนือเป็นบันไดใหญ่ ด้านใต้เป็นหอสวดมนต์
มีหอฉันตรงกลาง ของเดิมเป็นฝีมือช่างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
และมีการบูรณะบ้างในรัชกาลต่อ ๆ มา จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน
พระทั่นั่งทรงธรรม
เดิมเป็นตำหนักไม้ที่ประทับของสมเด็จพระรูปฯ ก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งทรงธรรม"
เพราะสมเด็จพระรูปฯ เมื่อคราวบวชชีได้ทรงฟังธรรมในที่นั้นเป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีรูปทรงดังปรากฏในปัจจุบัน ในคราวบูรณะใหญ่ปี
พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ
(สธ) ไว้ที่หน้าบัน ภายในพระที่นั่งทรงธรรมมีพระประธานและมีพระพุทธบาทจำลอง
5 รอย อยู่ด้านหน้า
พระตำหนัก
มีอยู่ 2 ตำหนัก คือ ตำหนักใหญ่อยู่ด้านทิศใต้ของวัด และพระตำหนักเล็กอยู่ด้านทิศตะวันตก
พระตำหนักทั้งสองเดิมเป็นเรือนไม้สักทรงไทย ฝาเฟี้ยม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างไว้ที่สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง
ภายหลังพระราชทานแก่สมเด็จพระมหสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แล้วสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ได้ทรงประทานออกมาไว้ที่วัดอัมพวันเจติยามรามพร้อมกับแท่นบรรทม ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ประดิษฐานอยู่ใกล้พระอุโบสถทางด้านหน้าพระวิหาร ทำการหล่อที่กรมศิลปากร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ
เสด็จ เททองเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2509 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามกถฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2520
พระวิหาร
อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถเยื่องมาทางขวา สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายในวิหารมีพระนอนองค์ใหญ่ ตั้งแต่พระเศียรจนถึงพระบาท วัดได้ 19 ศอก
มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่รอบระเบียงพระวิหาร จำนวน 52 องค์
พระปรางค์
อยู่ด้านในพระวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นบริเวณสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เพื่อบรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระราชชนก
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ เดิม)
ไปถึงหลัก กม.ที่ 63 ชิดซ้ายใช้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม
ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา -เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟ เลี้ยวขวาถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไปประมาณ
6 กม. ถึงสามแยกอัมพวาชิดซ้ายเข้าอัมพวา วิ่งตรงผ่านตลาดอัมพวา ข้ามสะพานคลองอัมพวา(สะพานเดชาดิศร)
ซุ้มประตูวัดทางเข้าอยู่ซ้ายมือ
รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้
รถสาย 76 กทม.-ดำเนินสะดวก เป็นรถปรับอากาศผ่านจังหวัดจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา
เดินผ่านตลาด ข้ามคลองอัมพวา ตรงไปถึงวัด
สาย 967 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย
333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ผ่านหน้าวัด